Monday, December 17, 2007

อยุธยา







สถานที่ท่องเที่ยวในอยุธยา


1.วัดพนัญเชิงวรวิหาร
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กม. หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคลถึงถนนใหญ่แล้วเลี้ยวซ้าย วัดนี้เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปซึ่งเป็น พระประธานในพระวิหารชื่อพระเจ้าพนัญเชิง (หลวงพ่อโต)สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1867 นับเป็น พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 20.17 เมตร และสูงจากชายพระชงฆ์ถึงรัศมี 19 เมตร ฝีมือปั้นงดงาม เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัด ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อคราวพระนครศรี อยุธยาจะเสียแก่ข้าศึกนั้น พระพุทธรูปองค์นี้ มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง
----------------------------------------------------
2.หมู่บ้านญี่ปุ่น
ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมาก ในสมัยนั้น ทางการญี่ปุ่นได้อนุญาติ ให้ชาวญี่ปุ่นค้าขายกับชาวต่างชาติ ได้โดยให้มีหัวหน้าปกครองในกลุ่มตน นับแต่นั้นมาก็มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาอาศัยมากขึ้น หัวหน้าชาวญี่ปุ่นในขณะนั้นคือ นากามาซา ยามาดา เป็นผู้มีอำนาจและเป็นที่โปรดปราน ของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนได้รับแต่งตั้งเป็น ออกญาเสนาภิมุข รับราชการต่อมา จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจนสิ้นชีวิต ปัจจุบันสมาคมไทย-ญี่ปุ่น ได้จารึกประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มาตั้งไว้ภายในหมู่บ้าน และ ปรับปรุงบริเวณหมู่บ้านให้เป็นอาคาร ผนวกของศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดแสดงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศ การเดินทางสามารถเดินทางจากวัดพนัญเชิงวรวิหารไปอีกประมาณ 1.5 กม. ก็จะเห็นอาคารผนวกหมู่บ้านญี่ปุ่นอยู่ทางด้านขวามือ




------------------------------------------------------------------
3.วิหารพระมงคลบพิตร
ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์องค์ใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย เดิมอยู่ทาง ทิศตะวันออกนอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ย้ายมา ไว้ทางด้านตะวันตก ที่ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดฯ ให้ก่อมณฑปสวมไว้ครั้นถึงแผ่นดิน ของสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปเกิดไฟไหม้เพราะอสนีบาต ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่ แปลงเป็นพระวิหารแทน เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตร ได้ถูกไฟไหม้ พระวิหารและองค์พระพุทธรูปได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือ ไม่งดงามอ่อนช้อยเหมือนเก่า บริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็น สนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย และเจ้านายเช่นเดียวกับ ท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ




----------------------------------------------------
4. ปางช้างอยุธยา แล เพนียด
มีบริการขี่ช้างตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ราคา 200-500 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ โทร. (035) 211001 ตั้งอยู่ระหว่างทางไปวิหารมงคลบพิตร




------------------------------------------------------




5.วัดพระศรีสรรเพชญ์
เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเช่นเดียว กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่กรุงเทพฯ หรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ แล้วโปรดยกให้เป็น เขตพุทธาวาส เพื่อประกอบ พิธีสำคัญต่างๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. 2035 องค์กลางบรรจุพระอัฐิของ สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 พระเชษฐาธิราช ในปี พ.ศ. 2042 ทรงสร้างพระวิหาร และในปีถัดมาทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง 8 วา หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ถวายพระนามว่า "พระศรีสรรเพชญดาญาณ" ซึ่งภายหลังเมื่อเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด และองค์พระพังยับเยิน เจดีย์องค์ที่ 3 ถัดมาด้านทิศตะวันตกเป็นเจดีย์บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น
------------------------------------------




6.วัดพระราม
อยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก สมเด็จพระราเมศวร ทรงสร้างขึ้นตรงที่ถวาย พระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอู่ทองพระราชบิดา วัดนี้มีบึงขนาดใหญ่หน้าวัด เดิมเรียกว่า "หนองโสน" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "บึงพระราม" ปัจจุบันคือ "สวนสาธารณะบึงพระราม" ซึ่งใช้เป็นที่ สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัด พระนครศรีอยุธยาและสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนอีกด้วย




----------------------------------------------------
7.วัดราชบูรณะ
อยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ตรงข้ามวัดมหาธาตุ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดให้สร้างขึ้น เมื่อราว พ.ศ. 1967 ณ ที่ซึ่งใช้ถวายพระเพลิงเจ้าอ้ายกับ เจ้ายี่ชนช้างกันจนถึงแก่พิราลัย และโปรดให้ก่อเจดีย์ 2 องค์ สวมทับบริเวณที่ชนช้าง ปัจจุบันเหลือเพียงฐานอยู่กลางวงเวียนหน้าวัด ซากที่เหลืออยู่แสดงว่าวิหารและส่วนต่างๆ ของวัดนี้ใหญ่โตมาก พระปรางค์ที่เหลืออยู่เป็นศิลปะ อยุธยาสมัยที่ 1 ซึ่งนิยมตามแบบขอมที่ให้พระปรางค์เป็นประธานของวัด คราวเสียกรุง วัดนี้ถูกเผา เสียหายหมด แม้พระปรางค์ใหญ่จะยังคงเหลืออยู่ แต่ได้ถูกคนร้ายลักขุดของมีค่าในกรุไปส่วนหนึ่ง จนกระทั่งกรมศิลปากรได้ขุดกรุเอาโบราณ วัตถุที่มีค่าไปรักษาไว้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ซึ่งสร้างโดยเงินบริจาค จากการนำพระพิมพ์ขนาดเล็กที่ได้จากกรุนี้เป็นของชำร่วย เมื่อปี พ.ศ. 2500
----------------------------------------------------




8.วัดเสนาสนาราม
อยู่หลังวังจันทรเกษม เป็นวัดโบราณเดิมชื่อ "วัดเสื่อ" มีพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์คือ "พระสัมพุทธมุนี" เป็นพระประธานในอุโบสถและ "พระอินทรแปลง" ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่ อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์
----------------------------------------------------





9.วิหารพระมงคลบพิตร
ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์องค์ใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย เดิมอยู่ทาง ทิศตะวันออกนอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ย้ายมา ไว้ทางด้านตะวันตก ที่ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดฯ ให้ก่อมณฑปสวมไว้ครั้นถึงแผ่นดิน ของสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปเกิดไฟไหม้เพราะอสนีบาต ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่ แปลงเป็นพระวิหารแทน เมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตร ได้ถูกไฟไหม้ พระวิหารและองค์พระพุทธรูปได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือ ไม่งดงามอ่อนช้อยเหมือนเก่า บริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็น สนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย และเจ้านายเช่นเดียวกับ ท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ
----------------------------------------------------





10.วัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่ตรงหน้าพระราชวังด้านทิศตะวันออกเชิงสะพานป่าถ่าน สร้างใน สมัยของสมเด็จพระราเมศวรเมื่อ พ.ศ.1927 ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุ (ปรางค์) เป็นแบบแรกของสมัยอยุธยา ซึ่งมีอิทธิพลของขอมปนมาก ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลง แต่ที่ เสริมใหม่ปัจจุบัน เป็นอิฐปูนสมเด็จ พระเจ้าปราสาททอง ได้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่โดยเสริม ให้สูงกว่าเดิม แต่ขณะนี้ยอดพังลงมา เหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น เมื่อ พ.ศ. 2499 กรมศิลปากร ได้ขุดแต่งพระปรางค์แห่งนี้ ได้ของโบราณหลายชิ้น ที่สำคัญคือผอบศิลา ภายในมีสถูป 7 ชั้น แบ่งออกเป็น ชิน เงิน นาก ไม้ดำ ไม้จันทร์แดง แก้วโกเมนและทองคำ ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องประดับอันมีค่า

----------------------------------------------------